วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 8 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ
       การมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพหรือคู่แข่งขัน ระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยจัดการและบริหารข้อมูลที่มีอยู่ภายในองค์กรและที่จะมาจากภายนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิคการศึกษา การวิเคราะห์ และการออกแบบระบบสารสนเทศขององค์กรให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินในลักษณะที่ว่า การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

ความสำคัญของผู้ใช้ต่อการพัฒนาระบบ
       ผู้ใช้ระบบ หมายถึง ผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์กรและหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับระบบสารสนเทศ ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง
ระบบงานจะต้องให้ข้อมูลสำคัญแก่ทีมงานพัฒนาระบบโดยแจกรายละเอียดเกี่ยวข้อมูลดังนี้
1. สารสนเทศที่องค์กรหรือหน่วยงานต้องการ แต่ยังไม่มีระบบใดในปัจจุบันที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศเท่านั้น
2. ผู้ใช้ระบบไม่พอใจต่อสิ่งใด ขั้นตอนหรือส่วนประกอบใดในระบบปัจจุบัน
3. ผู้ใช้ระบบมีความต้องการให้ระบบใหม่มีรูปแบบและคุณลักษณะอย่างไร ส่วนประกอบอะไรบ้าง และสามารถทำงานได้อย่างไร

ข้อบกพร่องของระบบสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์กร
1. ความต้องการ
2. กลยุทธ์
3. เทคโนโลยีระบบปัจจุบันมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม
4. ความซับซ้อน
5. ความผิดพลาด
6. มาตรฐานระบบเอกสารในระบบปัจจุบันมีมาตรฐานต่ำ

ปัจจัยในการพัฒนาระบบ
1. ผู้ใช้ระบบ
2. การวางแผน
3. การทดสอบ
4. การจัดเก็บเอกสาร
5. การเตรียมความพร้อม
6. การตรวจสอบและประเมินผล
                7. การบำรุงรักษา
8. อนาคต

      นักวิเคราะห์ระบบ System Analyst หรือ SA เป็นบุคคลที่ศึกษาระบบงานโดยตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูลนำเข้า และสารสนเทศ เพื่อหาวิธีการพัฒนาให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้น การทำงานของ SA จะมีบทบาทสำคัญ ดังนี้
1. ปรึกษา
2. ผู้เชี่ยวชาญ
3. ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง

ทีมงานพัฒนาระบบ
            เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ งานพัฒนาระบบจะประกอบด้วยบุคคลดังนี้
1. คณะกรรมการดำเนินงาน
2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
3. ผู้จัดการโครงการ
4. นักวิเคราะห์ระบบ
5. นักเขียนโปรแกรม
6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป

วิธีพื้นฐานในการพัฒนาระบบ
1. วิธีเฉพาะเจาะจง
2. วิธีสร้างฐานข้อมูล
3. วิธีจากล่างขึ้นบน
4. วิธีจากบนลงล่าง

ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. การสำรวจเบื้องต้น
2. การวิเคราะห์ความต้องการ
3. การออกแบบระบบ
4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

e-Commerce

e-Commerce คืออะไร

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
- Electronic commerce, commonly known as e-commerce or eCommerce, consists of the buying and selling of products or services over electronic systems such as the Internet and other computer networks. The amount of trade conducted electronically has grown dramatically since the wide introduction of the Internet. A wide variety of commerce is conducted in this way, including things such as electronic funds transfer, supply chain management, e-marketing, o­nline marketing, o­nline transaction processing, electronic data interchange (EDI), automated inventory management systems, and automated data collection systems. Modern electronic commerce typically uses the World Wide Web at at least some point in the transaction's lifecycle, although it can encompass a wide range of technologies such as e-mail as well.
กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
2. ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
3. ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
4. ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)
e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน
เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 20
5. ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
6. ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง
7. เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
8. ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
9. แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
10. แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย
หัวข้อให้คิด ที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ
11. สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า
12. วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart เพื่อติดตั้งระบบ แผนลงทุน และแผนคืนทุน
13. เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน คืนอย่างไร
14. จ่ายเงิน (Payment) :: แผนรับชำระเงิน
เช่น โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม พกง. เพย์พาล เคาน์เตอร์ธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร บัตรเครดิต ตั๋วเงินรับ เช็คส่วนบุคคล การโอนทางโทรเลข
15. ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร
เช่น Fedex, DHL, Logistic เป็นต้น
16. สินค้า (Product) :: ความน่าสนใจของสินค้า ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่
17. ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่
18. สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน
19. โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร และจะใช้วิธีการใดบ้าง
20. คลังสินค้า (Stock) :: ระบบจัดการคลังสินค้า ควบคุมอย่างไร
21. เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงิน ทั้งหมดกี่วัน
22. ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ ไม่ได้รับเงิน ส่งไม่ทัน ไม่ได้มาตรฐานทำอย่างไร
23. สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง ที่ตั้งสำนักงาน และแหล่งสินค้า
24. หีบห่อ (Package) :: คำสั่งซื้อจะมาพร้อมรูปแบบสินค้า และลักษณะหีบห่อ ยืดหยุ่นหรือไม่
25. เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด
26. ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่
27. ความปลอดภัย (Security) :: ทุกระบบต้องรองรับการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้ทุกรูปแบบ
28. ขนาด (Size) :: ขนาดระบบ เช่น รองรับจำนวนลูกค้า การสั่งซื้อ หรือสินค้าได้เพียงใด
29. การควบคุม (Controlling) :: การควบคุมกระบวนการทั้งหมด ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
30. สำรอง (Backup) :: แผนสำรองข้อมูล ในกรณีที่ระบบล้ม หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ยกเลิก
31. ภาษี (Tax) :: เข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในประเทศ และกฎหมายด้าน IT
e-Commerce ทำอย่างไร
บริการตั้งร้านค้า ในอินเทอร์เน็ต
1. พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting แสดงสินค้า แล้วให้ลูกค้า มาติดต่อขอซื้อมา
2. พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting ที่บริการ e-Commerce พร้อม shopping cart
3. พื้นที่แบบเสียเงิน แต่ไม่รับชำระผ่านระบบบัตรเครดิต เนื่องจากยุ่งยาก และมีเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามา
4. พื้นที่แบบเสียเงิน พร้อมเข้าระบบรับชำระผ่านบัตรเครดิตที่สมบูรณ์ เพราะหวังขายได้มาก ๆ เปิดช่องทางกว้างขึ้น
เรื่องน่าคิดอื่น ๆ ก่อนทำ e-Commerce
1. ขายอะไร (ผมเองก็ติดปัญหาเรื่องนี้ เพราะไม่รู้จะขายอะไร ที่เหมาะสมกับตัวที่สุด .. จึงยังไม่ขาย)
ธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบัน เช่น ดอกไม้, Hand-make, หนังสือ, CDเพลง, โปรแกรม, ให้เช่า server, รับโฆษณา หรือเข้าไปดูที่ shoppingthai.com ก็ได้ครับ
2. จด Domain Name และจดกับใคร
1. จด .com หรือ .net หรือ .co.th
2. จดกับผู้ให้บริการจดชาวไทย หรือชาวต่างชาติดี
3. เป็น SME (Small and Medium Enterprises) เพื่อรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจะตั้งเป็นบริษัท หรือไม่
4. ระบบ stock เป็นอย่างไร เช่นฝากสินค้า หรือขนถ่ายสินค้าสะดวกไห
5. ภาษีคิดอย่างไร ทั้งในและต่างประเทศ
6. ระบบเงินตราที่ขายสินค้าเป็นบาท dollar หรือบาท
7. ราคาขาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องกำหนดให้เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงเกินไป และต้องมีเหตุผล อธิบายเสมอ
8. ทำเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญที่เขาให้บริการ ครบวงจร
9. การขนส่งคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร (ตามน้ำหนัก ตามระยะทาง ตามมูลค่า หรือตามขนาด)
10. ความปลอดภัย (ถ้าไม่รับเรื่องบัตรเครดิต หรือไม่ serius เรื่องความลับก็ไม่ต้องสนใจก็ได้ครับ)
1. SSL (Secure Socket Layer) จะเข้ารหัสก่อนส่ง ไปให้ผู้บริการ เป็นระบบที่นิยมกันมาก และใช้ key เฉพาะจากผู้ส่งเท่านั้น แต่มีจุดบกพร่อมของระบบที่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว เมื่อส่งไปยังปลายทางจะถูกถอดรหัส เป็นเลขบัตรเครดิตให้เห็น ซึ่งอาจถูก hack ข้อมูลไปได้
2. SET (Secure Electronic Transactions) เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก เพราะผู้ซื้อ และผู้ขาย ต่างก็มีรหัสที่ต้องขอจากหน่วยงานกลาง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม (Certification Autority : CA) ร้านค้าจะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ ส่วนรหัสบัตร ร้านค้าจะไม่ทราบ แต่จะส่งไปให้ธนาคารโดยตรง (ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายของระบบนี้ยังสูงอยู่)
11. เลือกรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ท่านอาจทำทุกรูปแบบ หรือแบบใดแบบหนึ่ง)
รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)
รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)
รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)
รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)
รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

ข้อดี ข้อเสียของE-Commerce
คือ การดำเนินธรุกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ เลือกสินค้า คำนวนเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet
ข้อดี
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การดูแลคอมพิวเตอร์

มาโครไวรัส (macro virus)

คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

กำจัดมาโครไวรัสใน Word 97

เคล็ดลับกำจัดมาโครไวรัสใน Word 97 ตามประสบการณ์ งานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ บางครั้งพบว่า ปัญหา เล็ก ๆ น้อย ๆ กลับไม่คิดระวัง เรื่องนี้ผมย้อนคิดถึง การใช้เวิร์ด 97 เพื่อพิมพ์รายงาน. ทำจดหมายเวียน. เขียนมาโครไว้ใช้ เป็นโปรแกรมที่จะได้ใช้งาน ง่าย ๆ แม้วันดีคืนดี เพื่อน ๆ จะมาขอใช้เครื่องคอมพ์ เพื่อพิมพ์รายงาน ตัวปัญหาก็มีอยู่ว่าเพื่อน ฝูงหรือ เพื่อนพนักงานด้วยกันนี้แหล่ะ ที่ชอบนำไวรัสตัว ใหม่ ๆ มาฝาก
การแก้ไขปัญหา ที่ถูกนำไวรัสเข้ามาไว้ในเครื่อง เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ที่ต้องคอย ตามแก้อยู่ตลอดเวลา จากประสบการณ์ผม ต้องวาน ให้เพื่อนไปดาวน์โหลดแพทเทิร์นของไวรัสชื่อใหม่ ๆ มาเพิ่มลงที่เครื่องคอมพ์ของผม เพื่อจะป้องกัน และกำจัด แต่จนแล้วจนรอดปรากฏว่า ไม่สามารถ คลีนเจ้าตัวไวรัสต่าง ๆ ออกไปได้หมด แถมตัวโปร แกรมที่ใช้ ยังแนะนำให้ลบ ( Delete ) ไฟล์ที่ติดไว รัสด้วย คิดดูแล้วกันครับว่า ถ้าไฟล์เอกสารใน เครื่องที่มีอยู่ประมาณ 100-200 หน้า แล้วคุณจะทำอย่างไร
สำหรับการป้องกันนั้นไม่ยาก ก่อนอื่นคุณต้องรู้ว่า เครื่องคอมพ์ของคุณไม่มีไวรัส ติดอยู่ หรือผู้อ่านบางท่านที่เพิ่งติดตั้งโปรแกรม ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ 97 ลงเสร็จใหม่ก็จะเป็นการ ดี จะได้โปรเท็กต์ไฟล์ Normal.Dot เพื่อป้องกันไวรัส นี้ไว้ก่อนที่จะมีไวรัสเข้ามาที่ไดร์ฟของคุณ

โปรแกรมป้องกันไวรัส (อังกฤษ: Antivirus software)
 หรือในวงการเรียกว่า แอนติไวรัส/แอนติสปายแวร์(Anti-Virus/Anti-Spyware) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์(ต่อจากนี้จะเรียกว่าไวรัส) จากผู้ไม่หวังดีทางอินเทอร์เน็ต
 โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบใหญ่ๆ
 1.แอนติไวรัส เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
  2.
แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็คเกอร์
รวมถึงการกำจัด Adware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย

                   
โปรแกรมป้องกันไวรัสจะค้นหาและทำลายไวรัสที่ไฟล์โดยตรง แต่ในทุกๆวันจะมีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมาเสมอทำให้เราต้องอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย โดยแอนติไวรัสจะมีหลายรูปแบบตามบริษัทกันไปและแต่ละบริษัทจะมีการอัปเดตและการป้องกันไม่เหมือนกันเหมือนกันแต่ใน คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวไม่ควรมีแอนติไวรัส 2 โปรแกรมเพราะจะทำให้โปรแกรมขัดแย้งกันเองจนไม่สามารถใช้งานได้

เทคนิคการป้องกันไวรัส

 เทคนิคการป้องกันไวรัส ที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
1. ใช้การคลิ๊กขวา->open เพื่อเข้า drive ทุกๆ drive และทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเราเอง หรือเครื่องคนอื่น ทำให้ชินครับ ช้าแต่ชัวร์
2.
ถ้ามีเนต ให้ update antivirus ทุกวัน จะวันละกี่ครั้งก็แล้วแต่ อย่างน้อยคือ 1 ครั้ง
3.
ใช้ firefox ในการท่องเว็บ โอกาสติดไวรัสจะลดลง
4.
ตั้งค่า Folder option ให้โชว์ไฟล์ระบบ และ Hidden Files แล้วก็แสดงนามสกุลของไฟล์ด้วย
5.
จะคลิ๊กอะไรในเว็บ ก็ใจเย็นๆ มีสติ ก่อนคลิ๊ก โหลดอะไรก็อ่าน comment ของคนที่โหลดไปก่อนหน้าแล้วก็จะดีมาก
6.
อ่านมากรู้มาก ทั้งนิตยสาร computer และเว็บ it ต่างๆในเน็ต เช่น pantip.com
7.
ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้


การแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์
    การแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
      1 นำแผ่นดิสก์ที่มีไวรัสอยู่มาใช้งาน จะทำให้ไวรัสเข้าไปอาศัยอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์
           - หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีฮาร์ดดิสก์ติดไวรัสไปด้วยและเมื่อนำเอาแผ่นดิสก์ใหม่มา
                 ใช้งานอีกก็จะทำให้ติดไวรัสไปเช่นกัน
           - หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีฮาร์ดดิสก์ หากมีการนำแผ่นดิสก์อื่น ๆ มาใช้งานในขณะ
                 ที่มีไวรัสอาศัยอยู่ในหน่วยความจำ ไวรัสก็จะแพร่กระจายเข้าสู่แผ่นดิสก์นั้นด้วย
     2 ไวรัสสามารถแพร่กระจายไปตามระบบสื่อสารของคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบ LAN , MODEM เป็นต้น
                   สำหรับชนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีในปัจจุบันนั้นไม่สามารถบอกจำนวนชนิดได้แน่นอนเนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีจำนวนชนิดที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น ในเรื่องของธุรกิจการค้าการจำหน่า โปรแกรมนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันการก๊อปปี้เพื่อให้การจำหน่ายโปรแกรมสามารถทำกำไรให้แก่ผู้ผลิตหรือจำหน่ายได้เต็มที่หรือในกรณีที่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการทดสอบวิชาที่ตัวเองได้ศึกษามา เป็นต้น

อาการของคอมพิวเตอร์ที่สงสัยว่าติดไวรัส
   1.ชอบมีหน้าต่างโฆษณาผุดขึ้นมาบ่อยๆจนน่าลำคาญ ทั้งๆที่ไม่ได้รับเชิญ   2.มีโปรแกรมบางอย่างติดตั้งอยู่ในเครื่อง ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้ง  บางโปรแกรม ถอนการติดตั้งไม่ได้ ลบก็ไม่ออก   3.รีสตาร์ทเครื่องเอง ทั้งๆที่ไม่ได้สั่ง หรือเครื่องแฮงค์อยู่บ่อยๆ(กรณีย์เช็คHardwareแล้วปกติ)   4.ปรากฏหน้าโฮมเพจแปลกๆ ที่เราไม่ได้ตั้งค่าไว้ และไม่สามารถตั้งค่าโฮมเพจใหม่ได้   5.ขณะที่กำลังเข้าชมเว็บไซด์ที่ต้องการ กลับมีมีเว็บไซด์อื่นที่ไม่รู้จักปรากฏออกมาด้วย   6.อินเทอร์เน็ตช้าลงอย่างไม่รู้สาเหตุ   7.เครื่องทำงานได้ช้าลง เนื่องจากต้องเสียหน่วยความจำ(Ram)ไปให้กับไวรัส หรือHarddisk ทำงานตลอดสังเกตุไฟสีแดงจะค้าง   8.ปรากฏ เมล์ ที่ไม่รู้จักอยู่เต็มไปหมด   9.บางโปรแกรมที่เราติดตั้งไว้ในเครื่องไม่ทำงาน ข้อมูลในเครื่องได้รับความเสียหาย เปิดอ่านไม่ได้ แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้หรือถูกลบหรือหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ   10.บางครั้งสั่งพิมพ์งานแต่เครื่องพิมพ์(Printer)กลับไม่ตอบสนองคำสั่ง หรือสั่งแล้วพิมพ์ไม่หยุด   11.มีแถบเครื่องมือหรือทูลบาร์แปลกๆ ในเว็บบราวเซอร์ ที่ท่านใช้Onlineอยู่ ทั้งๆที่ไม่ได้ติดตั้ง   12.มีIconชอร์ตคัท ของโปรแกรมที่เราไม่รู้จัก อยู่บนเดสก์ทอป ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม   13.ทำงานช้าลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เคยทำงานรวดเร็ว ต่อมาเกิดอาการเฉื่อยลง การเปิดแฟ้มช้าลง บางครั้งมีภาพหรืออักษรประหลาดขึ้นมาบนจอภาพ   14.แผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม ไวรัสบางโปรแกรมจะเพิ่มขนาดให้กับแฟ้มข้อมูล หรือ โปรแกรมทำให้แฟ้มข้อมูลโตขึ้นทุกครั้งที่ใช้งานจนในที่สุดจะมีข้อความแจ้งว่าแผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม    15.แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้แก่ โปรแกรมที่มีประเภทเป็น .EXE และ .COM ทำให้นำโปรแกรมมาทำงานไม่ได้

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ระบบย่อยของสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สาระการเรียนรู้

1. บทนำ
2. ระบบปฎิบัติการทางธุรกิจ
3. ระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
5. ระบบสารสนเทศสำหรับสำนักงาน



ระบบ MIS เป็นระบบใหญ่และมีความซับซ้อน จึงมีการแบ่งออกเป็นระบบย่อย ๆ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลรายการ หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงานหรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้นปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นให้ช่วยการทำงานในสำนักงาน เพื่อเพิ่มผลิตและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน

ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ มีหน้าที่หลักดังนี้
1. การทำบัญชี ทำหน้าที่ ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชี
2. การออกเอกสาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์กร
3. การทำรายงานควบคุม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารค่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์กร

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ
1. ความผิดพลาดที่เกิดจากความสะเพร่า
2. ใช้แรงงานมาก
3. การสูญหายของข้อมูล
4. การตอบสนองที่ล่าช้า

วงจรการทำงานของระบบปฏิบัติงานทางธุรกิจ
1. การป้อนข้อมูล
2. การประมวลผลหรือการปฏิบัติงานกับข้อมูล
2.1 แบบครั้งต่อครั้ง
2.2 แบบตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง
3. การปรับปรุงฐานข้อมูล
4. การผลิตรายงานและเอกสาร
4.1 เอกสารที่เกี่ยวกับสารสนเทศ
4.2 เอกสารการปฏิบัติการ
4.3 เอกสารหมุนเวียน
5. การให้บริการสอบถาม

ระบบย่อยของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ
1. ระบบจ่ายเงินเดือน
2. ระบบบันทึกคำสั่งซื้อ
3. ระบบสินค้าคงคลัง
4. ระบบใบกำกับสินค้า
5. ระบบส่งสินค้า
6. ระบบบัญชีลูกหนี้
7. ระบบสั่งซื้อสินค้า
8. ระบบรับสินค้า
9. ระบบบัญชีเจ้าหนี้
10. ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป

ระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ
มีคุณสมบัติสำคัญดังนี้
1. สามารถที่จะสนับสนุนการตัดสินใจทั้งที่เป็นแบบโครงสร้างและกึ่งโครงสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลลิตเอกสารหรือรายงานตามตารางที่กำหนด
3. ถูกผลิตออกมาในรูปแบบที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้
4. สารสนเทศที่บรรจุอยู่ในรายงานหรือเอกสารมักจะเป็นสารสนเทศ
5. บ่อยครั้งที่รายงานหรือเอกสารจะถูกผลิตในรูปของกระดาษ

ประเภทของรายงาน
รายงาน เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยรวบรวมข้อมูลสำคัญในแต่ละเรื่อง เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติงานของผู้ใช้หรือการตัดสินใจของผู้บริหาร
1. รายงานที่ออกตามตาราง
2. รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ
3. รายงานที่ออกตามความต้องการ
4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์

คุณสมบัติของสารสนเทศในระบบจัดทำรายงาน
1. ตรงประเด็น
2. ความถูกต้อง
3. ถูกเวลา
4. สามารถพิสูจน์ได้

ประเภทของสำนักงาน
1. การตัดสินใจ
2. การจัดการเอกสาร
3. การเก็บรักษา
4. การจัดเตรียมข้อมูล
5. การติดต่อสื่อสาร

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้ตัดสินใจที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างระดับต่าง ๆ โดยสามารถทดสอบผลการตัดสินใจในการแก้ปัญหาด้วยตัวแบบข้อมูลและทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจ จึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานและการโต้ตอบ

ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1. การจัดการข้อมูล
2. การจัดการตัวแบบ
3. การจัดการความรู้
4. การติดต่อกับผู้ใช้

ระบบสารสนเทศสำหรับสำนักงาน
1. ระบบตัดการเอกสาร
1.1 การประมวลคำ
1.2 การผลิตเอกสารหลายชุด
1.3 การออกแบบเอกสาร
1.4 การประมวลรูปภาพ
1.5 การเก็บรักษา
2. ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร
2.1 โทรสาร
2.2 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2.3 ไปรษณีย์เสียง
3. ประทุมทางไกล
3.1 การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
3.2 การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
3.3 การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
3.4 โทรศัพท์ภายใน
3.5 การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
4. ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน
4.1 ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
4.2 ระบบจัดระเบียบงาน
4.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
4.4 การนำเสนอประกอบภาพ
4.5 กระดานข่าวสารในสำนักงาน

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หน่วยที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สาระการเรียนรู้


1.  ระบบสารสนเทศ
2.  ข้อมูลและสารสนเทศ
3.  ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
4.  ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
5.  องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ คือ กระบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่างสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผนจัดการและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3  ประการดังนี้
1. ระบบประมวลผล
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3. การจัดการข้อมูล

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information system : MIS)

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์ มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ
1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1.1 ฐานข้อมูล
1.2 เครื่องมือประกอบด้วยส่วนสำคัญ
- อุปกรณ์ คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
- ชุดคำสั่ง คือ ชดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารงาน
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
3. การแสดงผลลัพธ์ 
 
คุณสมบัติของสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล
2. ความปลอดภัยของข้อมูล
3. ความยืดหยุ่น
4. ความพอใจของผู้ใช้
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
2. ช่วยผู้ใช้ในการกำหนเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
3. ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
4. ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร   (Exective Informaion  System)

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เรียกว่า EIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะและความสามรถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร
3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร

ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาอันสั้น
4. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
6. สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
2. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
3. ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์กรจะได้รับ
4. ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
5. ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
6. ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลและของระบบ
7. ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล
ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
 
คุณสมบัติของข้อมูล
1. ความถูกต้อง
2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
3. ความสมบูรณ์
4. ความชัดเจนและกะทัดรัด
5. ความสอดคล้อง

 
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.2 การตรวจสอบข้อมูล
2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
2.1 การจัดแบ่งข้อมูล
2.2 การจัดเรียงข้อมูล
2.3 การสรุปผล
2.4 การคำนวณ
3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพี่อการใช้งาน
3.1 การเก็บรักษาข้อมูล
3.2 การค้นหาข้อมูล
3.3 การทำสำเนาข้อมูล
3.4 การสื่อสาร
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

1. MIS ถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ
2. MIS เป็นระบบงานซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กัน
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ
4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้
7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร


มีหน้าที่หลัก คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาไว้อย่างเป็นระบบ
1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์กร
2. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS คือ ระบบที่ช่วยให้เตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานผู้บริหารสามรถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจ แก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

1. เครื่องมือในการสร้าง MIS
2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
2.1 ทำการประมวลผลข้อมูลทั่วไป
2.2 ใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียด
2.3 ระยะเวลาในการใช้ข้อมูลเป็นระยะสั้น
2.4 ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
3. มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานข้อมูล
4. การแสดงผลลัพธ์
5. มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรข้อมูล
5.1 การบริหารงานมีความซับซ้อนมากขึ้น
5.2 ความจำเป็นในเรื่องกรอบเวลา
5.3 การพัฒนาทางเทคนิค
5.4 การตระหนักถึงคุณค่าและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ